ภัยพิบัติธรรมชาติ โครงงานคอมพิวเตอร์ โรงเรียนแก่งคอย

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศำศัพท์ภัยพิบัติธรรมชาติน่ารู้


การเกิดระเบิดของภูเขาไฟ (volcano erupt) 
ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดงให้เห้นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่ง มีความร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า"จุดร้อน" ณ บริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา และเมื่อมันถูกพ่นขึ้นมาตามรอยแตกหรือปล่องภูเขาไฟ เราเรียกว่า ลาวา

แผ่นดินไหว  (earthquake)
แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก

คลื่นใต้น้ำ (underwater waves)
คลื่นใต้น้ำ หมายถึง คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสม่ำเสมอและยอดเรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ จากความหมายดังกล่าว เป็นที่มาของสำนวนไทยที่เปรียบเทียบ "คลื่นใต้น้ำ" กับ "เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเสมือนสงบเรียบร้อย"

พายุ (strome)
พายุ คือ ลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อันเนื่องจากอากาศ 2 บริเวณมีความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างมาก ทำให้อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจึงเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดการหมุนของอากาศ ส่งผลให้เกิดพายุ

พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm)
พายุฝนฟ้าคะนอง หมายถึง อากาศที่มีฝนตกหนัก มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เป็นฝนที่เกิดจากการพา
ความร้อน มีลมพัดแรง เกิดอย่างกระทันหันและยุติลงทันทีทันใด

พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclones)
เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร โดยมากมักเกิดบริเวณพื้นทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส พายุหมุนเขตร้อนเป็นลักษณะของบริเวณความกดอากาศต่ำ ศูนย์กลางพายุเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำมากที่สุด ซึ่งเป็นบริเวณที่เงียบสงบ ไม่มีลม ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีฝนตก ส่วนรอบๆ จะเป็นบริเวณที่มีลมพัดแรงจัด มีเมฆครึ้ม มีฝนตกพายุรุนแรง โดยจะพัดเข้าหาศูนย์กลาง ซึ่งซีกโลกเหนือทิศทางการหมุนของลมมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนซีกโลกใต้มีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ความเร็วลมเข้าสู่ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 120 - 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พายุทอร์นาโด (Tornadoes)
เป็นพายุขนาดเล็กซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางของการหมุนแคบๆ แต่มีความรุนแรงมาก พายุทอร์นาโด 1 ลูก จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อยสุดประมาณ 2-10 กิโลเมตร มากที่สุดประมาณ 15-20 กิโลเมตร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางสูงถึง 270 นอต(500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุทอร์นาโดเกิดจากกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่าน เข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็ว ใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็น เกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ ช้าลง ในมวลพายุมีไอน้ำและฝุ่นละออง ตลอดจนวัตถุต่าง ๆ ที่ถูกลมพัดลอยขึ้นไป เมื่อพายุเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดฐานของมันจะกวาดทุกอย่างบนพื้นดินขึ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายมาก  พายุทอร์นาโดจะเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน เนื่องจากมวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นสมุทรเคลื่อนที่พบกับมวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นสมุทร โดยมักจะก่อตัวขึ้นบริเวณบนบกเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่เขตร้อน-เขตอบอุ่น ทั้งซีกโลกเหนือและใต้ โดยในซีกโลกภาคเหนือโดยส่วนใหญ่พายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา พบน้อยมากที่พายุจะหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ แต่ในซีกโลกใต้ส่วนใหญ่พายุทอร์นาโดจะหมุนตามเข็มนาฬิกา พบน้อยมากที่พายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ และพายุทอร์นาโดจะมีเกิดขึ้นประมาณ 4-6 ชั่วโมง

อุกทกภัย (Flood)
อุกทกภัยคือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ

ภัยแล้ง (drought)
ภัยแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ อันเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานานกว่าปกติ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้ำ ทำให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติเกิดความเสียหาย และความอดอยากทั่วไป ความแห้งแล้งเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง ทำให้เกิดความอดอยากแร้นแค้น ซึ่งหากปีใดที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านเลยก็จะก่อให้เกิดความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงยาวนาน โดยภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกปีจะอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเนื่องถึงเดือนกรกฎาคม ในช่วงดังกล่าวพืชไร่ที่เพาะปลูกจะขาดน้ำได้รับความเสียหายมนุษย์ - สัตว์ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพรวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ความรุนแรงจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้ง และขนาดของพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง เป็นต้

อัคคีภัย (conflagration)
อัคคีภัย หมายถึง ภัยอันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต

ดินถล่ม โคลนถล่ม (mudslide)
ดินถล่มคืออะไร? ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว

พายุหิมะ (snow storm) และ พายุน้ำแข็ง (ice storm)
เป็นสิ่งที่เกิดในฤดูหนาวเหมือนกัน แต่เราพบพายุหิมะได้บ่อยกว่ามาก กลไกการเกิดแตกต่างกันคือ พายุหิมะเกิดจากการที่ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นเกล็ดน้ำแข็งเล็ก ๆ จนมีน้ำหนักมากพอก็จะตกลงสู่พื้นดินในสภาพเกล็ดน้ำแข็ง ในขณะที่พายุน้ำแข็งนั้น ไอน้ำควบแน่นเป็นน้ำ ซึ่งอยู่ในภาวะ supercooled คือเป็นน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง แล้วตกลงสู่พื้นดินในสภาพน้ำ เมื่อน้ำนี้ตกลงสู่พื้นดินก็จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็งปกคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นแทนที่พื้นดิน ต้นไม้ สายไฟ จะปกคลุมด้วยเกล็ดหิมะซึ่งความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักก็น้อย กวาดออกก็ง่าย มันก็จะถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า หนักกว่า และกวาดไม่ออก ด้วยเหตุนี้พายุน้ำแข็งจึงเป็นอะไรที่อันตรายมาก ขับรถก็ไม่ได้เพราะถนนเป็นน้ำแข็ง สายไฟก็อาจขาดเพราะน้ำหนักของน้ำแข็งที่เคลือบอยู่ อะไรแบบเนี้ย อุณหภูมิที่เกิดไม่่ต่างกันเท่าไรครับ คืออุณหภูมิพื้นผิวต้องต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ส่วนลูกเห็บ (hail) จะไม่เกิดในฤดูหนาวครับ มันเกิดจาก supercooled water ที่พบในเมฆฝน ซึ่งควบแน่นกลายเป็นน้ำแข็งเนื่องจากได้รับ particle บางอย่างในอากาศเช่น ฝุ่นต่าง ๆ (การที่น้ำจะแข็งตัวได้ ไม่ได้ใช้อุณหภูมิอย่างเดียว มันต้องมีแกนให้จับตัวด้วย) และตกลงสู่พื้นผิวที่อุณหภูมิสูงกว่า เพราะฉะนั้นลูกเห็บจะพบในต้นฤดูร้อนครับ และแหล่งที่พบก็มักจะเป็นเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร ที่ที่ผมอยู่มี ice storm นาน ๆ ครั้งครับ ถ้าได้เห็นจะรู้ว่าสวยมาก (ยิ่งเวลาพระอาทิตย์ใกล้ตกนะครับ น้ำแข็งมันจะสะท้อนแสงอาทิตย์) แต่อันตรายสุด ๆ

สาร CFC 
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

32 วิธีการป้องกันภาวะโลกร้อน


                 1. ลดการใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1 พันปอนด์ต่อปี
                2. ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
                3. เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลาย ปีมาก
                4. เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี 
                5. มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้น จะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ
                6. ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช็อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ที่อาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก 

                7. เลือกซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน รวมทั้งพิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อเปรียบเทียบราคา 
                8. ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20% หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ใช้งานราว 3 หมื่นกิโลเมตรต่อปี
                9. เช็คลมยาง การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3% จากภาวะปกติ
             10. เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ให้มากขึ้น
             11.โละทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพราะใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี
              12. ยืดอายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู้เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์
              13.ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
              14. ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่างๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด และดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน
              15. ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยๆ (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)
              16. ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า
              17. สร้างนโยบาย 3Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด
              18. ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

              19. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน
              20. นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน และตำแหน่งของช่องแสงเป็นปัจจัย ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหลอดไฟและพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้
              21. ปลูกต้นไม้ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุ ของมัน
              22.  ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
              23. ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อนในตัวอาคารสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลด     ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า
              24. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน
              25. ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการเผากำจัดในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มในบรรยากาศ

              26. เลือกซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อยๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึงการเพิ่มขยะอีกหลายชิ้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น
              27. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์
              28. ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพราะกระบวนการผลิตกระดาษแทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลช่วยลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ
              29. ตั้งเป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วน หรือมากกว่า เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรและลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวนมาก เมื่อลองคูณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ 
              30. บริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง ทานผัก (ปลอดสารพิษ) ให้มากขึ้น ฟาร์มเลี้ยงวัว คือ แหล่งหลักในการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ หันมารับประทานผักให้มากขึ้น ทานเนื้อวัวให้น้อยลง
              31. ชักชวนคนอื่นๆ รอบข้างให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อน ให้ความรู้ความเข้าใจและชักชวนคนใกล้ตัว รวมทั้งเพื่อนบ้านรอบๆ ตัวคุณ เพื่อขยายเครือข่ายผู้ร่วมหยุดโลกร้อนให้กว้างขวางขึ้น 
              32. การซื้อให้น้อยลง แบ่งปันให้มากขึ้น อยู่อย่างพอเพียง