ภัยพิบัติธรรมชาติ โครงงานคอมพิวเตอร์ โรงเรียนแก่งคอย

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

32 วิธีการป้องกันภาวะโลกร้อน


                 1. ลดการใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1 พันปอนด์ต่อปี
                2. ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
                3. เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลาย ปีมาก
                4. เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี 
                5. มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้น จะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ
                6. ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช็อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ที่อาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก 

                7. เลือกซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน รวมทั้งพิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อเปรียบเทียบราคา 
                8. ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20% หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ใช้งานราว 3 หมื่นกิโลเมตรต่อปี
                9. เช็คลมยาง การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3% จากภาวะปกติ
             10. เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ให้มากขึ้น
             11.โละทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพราะใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี
              12. ยืดอายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู้เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์
              13.ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
              14. ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่างๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด และดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน
              15. ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยๆ (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)
              16. ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า
              17. สร้างนโยบาย 3Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด
              18. ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

              19. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน
              20. นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน และตำแหน่งของช่องแสงเป็นปัจจัย ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหลอดไฟและพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้
              21. ปลูกต้นไม้ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุ ของมัน
              22.  ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
              23. ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อนในตัวอาคารสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลด     ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า
              24. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน
              25. ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการเผากำจัดในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มในบรรยากาศ

              26. เลือกซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อยๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึงการเพิ่มขยะอีกหลายชิ้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น
              27. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์
              28. ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพราะกระบวนการผลิตกระดาษแทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลช่วยลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ
              29. ตั้งเป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วน หรือมากกว่า เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรและลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวนมาก เมื่อลองคูณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ 
              30. บริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง ทานผัก (ปลอดสารพิษ) ให้มากขึ้น ฟาร์มเลี้ยงวัว คือ แหล่งหลักในการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ หันมารับประทานผักให้มากขึ้น ทานเนื้อวัวให้น้อยลง
              31. ชักชวนคนอื่นๆ รอบข้างให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อน ให้ความรู้ความเข้าใจและชักชวนคนใกล้ตัว รวมทั้งเพื่อนบ้านรอบๆ ตัวคุณ เพื่อขยายเครือข่ายผู้ร่วมหยุดโลกร้อนให้กว้างขวางขึ้น 
              32. การซื้อให้น้อยลง แบ่งปันให้มากขึ้น อยู่อย่างพอเพียง

ผลกระทบภาวะโลกร้อนที่จะเกิดกับประเทศไทย

1. ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง
             นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นอีกถึง 90 เซนติเมตรในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพต่างๆหลายประการ
             สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยประเมินไว้ว่า มีสิ่งชี้ชัดในเรื่องความเป็นไปได้ของภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และอุทกภัยที่ถี่ขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตร โดย ระดับการรุกของน้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาถึง 40 กิโลเมตร ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความสมดุลของน้ำจืดและน้ำเค็มในพื้นที่ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งและอุทกภัย ที่จะก่อความเสียหายกับระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมา 



2. ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
              รูปแบบของฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้วัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลง ลักษณะการไหลของระบบน้ำผิวดิน และระดับน้ำใต้ดินก็จะได้รับผลกระทบด้วย ทั้งพืชและสัตว์จึงต้องปรับปรุงตัวเองเข้าสู่ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป ลักษณะความหลากหลายทางชีวภาพก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
             ระบบนิเวศทางทะเล ก็เป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน


ภาพการเกิดปะการังฟอก จากผลกระทบภาวะโลกร้อน


3.ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ
            การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่า ในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิเฉลี่ยที่พอเหมาะด้วย 
            นอกจากนี้ ผลกระทบยังอาจเกิดขึ้นกับการทำประมง เนื่องจาก แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี อาจแห้งขอดลงในบางฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้จำนวนและความหลากหลายของชนิดของสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำแถบลุ่มแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป

4. เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง
              จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศที่ร้อนขึ้น และความชื้นที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยครั้งและรุนแรง จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งขึ้นและไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยภาคใต้ของประเทศซึ่งเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านจะเกิดพายุมากขึ้น และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของแนวโน้มอุทกภัยแบบฉับพลันด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย และก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบนิเวศ
             ภัยธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงขึ้น ได้แก่ ภาวะภัยแล้ง เช่น ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2533 ประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้งรุนแรงจากปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ ที่เชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ไฟป่าอาจจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะภัยแล้ง





5. ผลกระทบด้านสุขภาพ
             อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากขึ้น โดยภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง และอหิวาตกโรค เป็นต้น
             โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ไข้มาลาเรีย ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนขึ้นและฤดูกาลที่ไม่แน่นอน
             แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และภูมิต้านทานร่างกายต่ำ โดยเฉพาะในเด็กและคนชรา

6. ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ
           ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นไม่เพียงแต่ส่งกระทบที่รุนแรงต่อประเทศไทยในทางกายภาพเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การยุบตัวของพื้นที่ชายฝั่ง ภูมิอากาศแปรปรวน โรคระบาดรุนแรง และผลกระทบอื่นๆ ส่งผลให้มีประชากรบาดเจ็บล้มตาย ทิ้งที่ทำกิน และไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ประชาชนยังจะได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะระหว่างภาวะน้ำท่วม และความเสียหายที่เกิดกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งโดยมาก ผู้ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็นประชาชนที่มีความยากจน และไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำจึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 
             การป้องกันดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าที่จะป้องกันในเชิงเศรษฐกิจจะถูกละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด เช่น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น 

แหล่งที่มา
www.whyworldhot.com/an-inconvenient-truth-global-warming
www.greentheearth.info/

เอล นิโญ (El Nino) และ ลา นิโญ (La Nino)

1. เอล นิโญ (El Nino)
          เอล นิโญ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "El Nino - Southern Oscillation" หรือเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า "ENSO" หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้





         เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอล นิโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้ ปรากฏการณ์เอล นิโญ ทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอล นิโญ นั่นเอง

2. ลา นิโญ (La Nino)
        เป็นคำภาษาสเปน (ภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น "ลา นิโน") แปลว่า "บุตรธิดา" เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอล นิโญ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า กล่าวคือกระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุม ตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู 

             
                กล่าวง่าย ๆ ก็คือ "เอล นิโญ" ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกัน "ลา นิโญ" ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              ทั้ง 2 ปรากฏการณ์นี้ เกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน


แหล่งที่มา:


เหตุใดจึงควรตระหนักถึง ภาวะโลกร้อน

         ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ข่าวภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้จากสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ พายุถล่ม     น้ำท่วม และไฟป่า ทำให้ผู้คนที่ไม่เคยสนใจธรรมชาติมาก่อนก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความหวาดวิตก เพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้นนอกจากจะมีทุกรูปแบบแล้ว ยังมีความรุนแรงมากกว่าเดิม แถมในหลายภูมิภาคต้องเผชิญหน้ากับความเลวร้ายอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
         เริ่มจากเหตุการณ์เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว    ขนาด 9.2 ริกเตอร์ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราและในท้องทะเลอันดามัน ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิคร่าชีวิตผู้คนหลายแสนคน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากมาย จากนั้นก็มีเหตุแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายร้อยครั้งจนกลายเป็นเหตุหายนะรายวันทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น อเมริกา ชิลี เปรู และโบลิเวีย


       ขณะเดียวกันก็เกิดสภาพอากาศวิปริตอย่างหนักในอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ญี่ปุ่น อเมริกา ชิลี และบริเวณตอนเหนือของยุโรป ทั้งพายุหิมะ ฝนตกหนัก และอากาศหนาวเย็นสุด ๆ จนอุณหภูมิติดลบ ทำให้ประชาชนล้มตายหลายพันคน
     ต่อมาอีกไม่กี่เดือนก็เกิดคลื่นความร้อน (Heat Wave) แผ่ปกคลุมทั้งจีน อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน โปรตุเกส ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ทำให้ผู้คนตายอีกหลายร้อยคนจากโรคลมแดดและขาดน้ำจนช็อคตาย รวมทั้งหลายประเทศเกิดไฟป่าอย่างรุนแรงจากอากาศที่แห้งแล้งอย่างหนัก


              ถัดมายังไม่ทันที่คลื่นความร้อนจางหาย ก็เกิดลมพายุเข้ามาสร้างความเสียหายหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ของจีนที่ต้องเผชิญพายุนับสิบลูกจนทำให้ประชาชนล้มตายนับไม่ถ้วน และที่รัฐมหาราษฎรระทางทิศตะวันตกของอินเดียก็เกิดเหตุดินถล่มหลังฝนตกหนักติดต่อกันนานกว่า4วัน เป็นเหตุให้มีผู้คนถูกฝังทั้งเป็นนับร้อยคน ส่วนที่อินโดนีเซีย (หมู่บ้านซีมาไฮ ชานเมืองบันดุง) ก็เกิดฝนตกหนักจนทำให้ขยะที่กองเป็นภูเขาเลากากลบฝังชาวบ้านกว่า 200 ชีวิต
                            จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเสนอทฤษฎีต่างๆนานาเพื่ออธิบายถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ทฤษฎีโลกร้อนโลกเย็น ทฤษฎีแกนโลกเอียง เป็นต้น ซึ่งทุกทฤษฎีล้วนนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า "มนุษย์ได้ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี เมื่อธรรมชาติเสียความสมดุลก็ย่อมเกิดการทำลายจากธรรมชาติ ซึ่งสิ่งที่เกิดนี้เป็นเพียงสัญญาณเตือนจากธรรมชาติเท่านั้น ยังไม่ถึงเวลาของภัยพิบัติธรรมชาติแท้จริงที่คาดว่าน่าจะเลวร้ายกว่านี้
ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า"

แหล่งที่มา :

ภาวะโลกร้อนควรรู้


  •   ความหมาย
                ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
  •  สาเหตุ 
                ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
 
         นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
  • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
                ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก
                พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีทั้งรังสีคลื่นสั้นและคลื่นยาว บรรยากาศของโลกทำหน้าที่ปกป้องรังสีคลื่นสั้นไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุดจะดูดกลืนรังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์จนทำให้อะตอมของก๊าซในบรรยากาศชั้นบนมีอุณหภูมิสูง และแตกตัวเป็นประจุ (บางครั้งเราเรียกชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยประจุนี้ว่า "ไอโอโนสเฟียร์" มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสาร) รังสีอุลตราไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนลงมา แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 19 - 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงที่ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพื้นโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุในบางความถี่สามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศได้
                สำหรับ บรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกนั้นเป็นไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย แม้ว่าไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอนจะเป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศ แต่ก็มิได้มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของโลก ในทางตรงกันข้ามก๊าซโมเลกุลใหญ่ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน แม้จะมีอยู่ในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย กลับมีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด และมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่น เราเรียกก๊าซพวกนี้ว่า "ก๊าซเรือนกระจก" (Greenhouse gas) เนื่องจากคุณสมบัติในการเก็บกักความร้อน หากปราศจากก๊าซเรือนกระจกแล้ว พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิเพียง -18 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นก็หมายความว่าน้ำทั้งหมดบนโลกนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง


ภาพแสดงปรากฎการณ์เรือนกระจก

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถิติภัยพิบัติธรรมชาติ ในรอบปี 2553


     ในรอบปี 2553 เราจะได้รับข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รอบโลก ที่มีผลกระทบความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจสังคม และการเมือง ทั้งที่รุนแรง และไม่รุนแรง ซึ่งสรุปเป็นสถิติ ได้ดังนี้ 

วันที่ 2 มกราคม 2553   เกิดแผ่นดินไหวที่ "เฮติ"ขนาด 7.0 ริกเตอร์ สร้าง ความเสียหายมากมายมหาศาล โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์เมืองหลวงของประเทศเฮติ ทั้งนี้ ได้มีการประมาณว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มากกว่า 3 ล้านคน รัฐบาลเฮติรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 3 แสนคน ผู้บาดเจ็บอีกกว่า 3 แสนคน และอีกกว่า 1 ล้านคนยังไม่มีที่อยู่อาศัย

ประมวลภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่เฮติ


วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553     เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริกเตอร์ ที่ นอกชายฝั่งแคว้นเมาเลประเทศชิลี จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายของทรัพย์สินชนิด "ราบพนาสูญ"ที่น่าตกใจกว่าความเสียหายซึ่งมากมายมหาศาลแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แกนโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิม 3 นิ้วส่งผลให้ระยะเวลาสั้นลงไป 1.26 ไมโครวินาที (1ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที) เลยทีเดียว

วันที่ 8 มีนาคม 2553   เกิดพายุทำให้เกิดฝนตกหนักในนครเมลเบิร์น วัดระดับน้ำฝนได้ 26 มิลลิเมตร พื้นที่อื่นวัดระดับน้ำฝนได้สูงถึง 70 มิลลิเมตร นอกจากนี้ ยังมีลูกเห็บยักษ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 4 นิ้ว หรือเท่ากับลูกเทนนิส มีประชาชนแจ้งขอรับความช่วยเหลือมากกว่า 4,000 คน 

ภาพฝนตกหนักและลูกเห็บยักษ์ที่นครเมลเบิร์น

วันที่ 20 มีนาคม 2553  เกิดการปะทุของภูเขาไฟชื่อดังในไอซ์แลนด์ จริง ๆ แผ่นดินไหวได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 ในครั้งนี้ ซึ่งมีการจัดดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟอยู่ที่ระดับ 1 การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาและได้รบกวนการจราจรทางอากาศในทวีปยุโรปมหาศาล ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารนับล้านๆ คน   

วันที่ 31 มีนาคม 2553   เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในอ่าวเบงกอล วัดขนาดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.8 ริคเตอร์ที่หมู่เกาะอันดามันแอนด์ นิโคบาร์ ในอ่าวเบงกอล

วันที่ 7 เมษายน 2553     เมื่อเวลา 05.15 . (ตามเวลาท้องถิ่น) ขณะที่คนกำลังหลับใหล เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีความรุนแรง 7.8 ริกเตอร์ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหลังจากนั้นเกิดคลื่นสึนามิ สูง 1.5 ซม.ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นคลื่นขนาดเล็ก  

* อีก 1 อาทิตย์ถัดมา เกิดภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งตอนใต้ของเกาะไอซ์แลนด์ระเบิดปะทุ ขึ้นฟ้าสูงถึง 8 กิโลเมตร ฝุ่นขี้เถ้าลอยสูงกว่า 6 พันเมตร และฟุ้งกระจายไปทั่วประเทศ และหลายประเทศในยุโรปตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.เป็นต้นมา กลุ่มควันและเถ้าละอองปลิวฟุ้งขึ้นไปบนท้องฟ้าก่อให้เกิดอันตรายกับเครื่อง ยนต์ไอพ่นของเครื่องบินโดยสารเที่ยวบินในภูมิภาคยุโรปต้องยกเลิกเที่ยวบิน สร้างความโกลาหนอย่างมากมาย
                 
ในวันเดียวกันที่ประเทศจีนเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีก มีความรุนแรง 6.9 หรือ 7.1 ริกเตอร์ บริเวณเขตปกครองตนเองยูซู มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน เมื่อเวลา 07.49 น. (ตามเวลาในท้องถิ่น) สำนักข่าวซินหัวของประเทศจีน รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 2,220 ราย สูญหาย 70 ราย และบาดเจ็บ 12,135 ราย ซึ่งในที่นี้บาดเจ็บสาหัสเกือบ 2 พันราย 

 วันที่ 15 พฤษภาคม 2553   เหตุการณ์โลกพิโรธ เกิด พายุทอร์นาโด และพายุลูกเห็บที่เมืองซุ่ยหัว ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฮาร์บินประมาณ 120 กิโลเมตร ในมณฑลเฮยหลงเจียง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บมากมาย 


ภาพพายุทอร์นาโด ณ เมืองซุ่ยหัว ประเทศจีน

วันที่ 1 มิถุนายน 2553    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ที่นอกหมู่เกาะอันดามันของอินเดีที่ระดับความลึก 127 กิโลเมตร และมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างประมาณ 120 กิโลเมตร จากเมืองพอร์ตแบลร์ของหมู่เกาะอันดามัน 

วันที่ 5 มิถุนายน 2553     เกิดพายุทอร์นาโดพัดถล่มทางภาคตะวันตกด้านกลางของสหรัฐอเมริกา 

วันที่ 7 มิถุนายน 2553      ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศคู่แค้นกับอเมริกา "รัสเซีย" และมีรายงานข่าวภูเขาไฟระเบิดอย่างต่อเนื่องมากถึง 3 ครั้งต่อชั่วโมงที่ประเทศเอควาดอร์ 

วันที่ 9 มิถุนายน 2553     กิดแผ่นดินไหวขนาดเกือบ 6 ริกเตอร์ ที่บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นยังเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะวาเนาตู (Vanautu) ขนาด 6.0 ริกเตอร์ด้วย 

วันที่ 10 มิถุนายน 2553     เกิดน้ำท่วมขนาดใหญ่ที่รัฐเท็กซัส ของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา   

วันที่ 12 มิถุนายน2553      ราวตี 1 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ที่นอกชายฝั่งประเทศอินเดีย ซึ่งห่างจากซีกตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ไปประมาณ 150 กิโลเมตรที่ความลึก 35 กิโลเมตร 

วันที่ 13 มิถุนายน 2553       เหตุภัยพิบัติพายุฝน และดินถล่มทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวจีนไปจำนวนหนึ่ง สำหรับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินประมาณ 43,000 ล้านหยวน และมีผู้อพยพกว่าเกือบ 3 ล้านคน  


ภาพพายุฝนและดินโคลนถล่ม ทางตอนใต้ของประเทศจีน
วันที่ 16 มิถุนายน 2553      เกิดเหตุแผ่นดินไหวบริเวณเกาะไบแอ็ก (Biak) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะปาปัว วัดความสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์ 

วันที่ 18 มิถุนายน 2553      ประเทศจีนเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มฉับพลันในพื้นที่ 74 เมือง ของ 6 มณฑล ประมาณการณ์ว่าประชาชนกว่า 2.56 ล้านคนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้  

วันที่ 14 กรกฎาคม   กิดเหตุน้ำท่วม และดินถล่มจากฝนตกหนักทางภาคใต้ของจีน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน  และวันเดียวกัน เหตุการแผ่นดินไหวอินโดนีเซียขนาด 5.6 ริกเตอร์  

วันที่ 16 กรกฎาคม 2553      เกิดพายุโซนร้อน "โกนเซิน" (Conson) ณ บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 600 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม   
* ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงราวต้นเดือนกันยายน 2553 เกิดไฟป่าในรัสเซียนับหลายร้อยแห่ง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในประวัติศาสตร์รัสเซีย และความแห้งแล้งในภูมิภาค มีการประมาณผู้เสียจริงอาจสูงถึง 8,000 คน 

วันที่ 1 สิงหาคม 2553   ได้เกิดอุทกภัยรุนแรงทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน จากผลพวงของพายุฤดูร้อน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย

ภาพเหตุการณ์น้ำท่วมที่ประเทศปากีสถาน

วันที่ 8 สิงหาคม 2553     เกิดอุทกภัย และแผ่นดินถล่มที่จีน เนื่องมาจากฝนตกหนัก ที่เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 127 คน สูญหายอีก กว่า 1,300 คน 

วันที่ 15 สิงหาคม 2553    เกิดเหตุไฟป่าในโบลิเวียเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินเนื่องจากพบว่ามีไฟป่าเกิดขึ้นมากกว่า 25,000 จุดทั่วประเทศ ไฟป่าได้ผลาญทำลายบ้านเรือนไปเกือบ 60 หลังคาเรือน 

วันที่ 6 กันยายน 2553      โคลนถล่มกัวเตมาลา พบผู้เสียชีวิตและสูญหายพุ่งเกินกว่า 100 ราย  

วันที่ 10-30 ตุลาคม 2553     มาถึงคิวประเทศไทย  เป็นเหตุการณ์การเกิดน้ำท่วมในประเทศไทยหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่แบบที่ หลายคนยังประเมินความเสียหายไม่ได้  

ภาพเหตุการณ์ น้ำท่วมหนัก ประเทศไทย ปี2553

วันที่ 25 ตุลาคม 2553     แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย ขนาดความรุนแรง 7.7 

วันที่ 26 ตุลาคม 2553      ภูเขาไฟเมราปี (Merapi) ระเบิดซ้ำที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีรัศมีการกระจายของขี้เถ้าขยายเป็นวงกว้างประมาณ 2-4 กิโลเมตร  

ภาพภูเขาไฟเมราปี  ประเทศอินโดนีเซีย

วันที่ 27 ตุลาคม 2553      สึนามิถล่มซ้ำที่หมู่เกาะ เมนตาไว ประเทศอินโดนีเซีย ความรุนแรงถึง 7.2 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 108 คน และสูญหายราว 500 คน  


วันที่  1 พฤศจิกายน 2553   เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ความเสียหายของประเทศไทย กับการเดินทางผ่านของพายุดีเปรสชั่นถล่มภาคใต้ 

แหล่งที่มา: